วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วงเเหวนเเห่งไฟ


'วงแหวนแห่งไฟ' คืออะไร!!!!!!!!

'คลื่นยักษ์ถล่ม' 'ธรณีพิบัติ' 'ภูเขาไฟระเบิด' เชื่อหรือไม่ ทั้ง 3 ภัยพิบัติ เกิดจากต้นกำเนิดเดียวกัน !!

 วงแหวนแห่งไฟ

'Ring of fire' หรือในภาษาไทยแปลว่า 'วงแหวนแห่งไฟ' 
(อังกฤษ: Pacific Ring of Fire หรือ the Ring of fire) เป็นบริเวณในมหา
สมุทรแปซิฟิ
กที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า 
ความยาวรว
มประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟ
และบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่ง
ไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75%

จากข้อมูลอันน่าสะพรึง พบว่าเหตุ แผ่นดินไหวประมาณ 90% ของแผ่นดิน

ไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริ
เวณวงแหวนแห่งไฟ นอกจากวงแหวนแห่งไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง 
ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา
 (สาเหตุของแผ่นดินไหวและสึนามิที่ถล่มอินโดนีเซียในขณะนี้) ผ่านเทือกเขา
หิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น
 17% ขอทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่น
ดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก

ร่องเกือกม้าของวงแหวนแห่งไฟ เกิดจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่น

เปลือกโลก
ที่เลื่อนและแยกตัวกันเป็นแผ่น ๆ และมีชื่อแตกต่างกันไปทั่วโลก ซึ่งเราจะโฟ

กัสกันที่รอยเลื่อนและบริเวรใต้วงแหวนที่ส่งผลกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มากที่สุด และเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก

เริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลเล ประเทศตองกา

 และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็น แนวอัลไพน์ 
ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่
ตั้งบนวงแหวนแห่งไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย 
ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ

ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ (เฉพาะในเอเชีย) ภูเขาไฟฟูจิ 

ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707 ภูเขาไฟพินาตูโบ มายอน ทาล
 และคานลายอน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟพินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่
ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991 ภูเขาไฟแทมโบรา เคลูด และเมราปี ในประเทศอินโดนีเซีย 
(ลูกที่กำลังระเบิดอยู่ในขณะนี้) ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์

สรุปง่าย ๆ ก็คือ ทั้งแผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด ล้นมีผลมาจากการเป็น

พื้นที่ที่ตั้งอยู่บน 'วงแหวนแห่งไฟ' ทำให้มีภูมิประเทศทั้งบนบก ทะเล และ
ใต้พื้นดิน เอื้อต่อการเผชิญหน้ากับภัยธรรมชาติมากที่สุด

ส่วนชื่อประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ได้แก่

 ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา 
เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา
 ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา
 ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน 
ตองกา ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา

โดยประเทศต่างๆ เหล่านี้ เป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังภัยทางธรรมชาติ

ที่อาจเกิดจากแผ่นดินไหว สึนามิ และภูเขาไฟระเบิดมากถึงมากที่สุด

คลื่นสึนามิ  เกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว เช่น แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หรืออุกกาบาตพุ่งชน
เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกระทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น

บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน

นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก อย่างไรก็ตาม ถ้าแผ่นดินมีขนาดใหญ่มากพอ อาจทำให้เกิด เมกะสึนามิ ซึ่งอาจมีความสูงร่วมร้อยเมตรได้